ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ : Princess of Naradhiwas University

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ : Princess of Naradhiwas University

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (อังกฤษ: Princess of Naradhiwas University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 77 ในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาสก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ภายหลังจากการหลอมรวมวิทยาลัยต่างๆ และยกฐานะขึ้นจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส วิทยาลัยการอาชีพตากใบ วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี โดยชื่อ "มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" นั้น ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 8 และ 9 เนื่องด้วยพระองค์ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พุทธศักราช 2548[2] ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 14ก วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกันยายน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีสำคัญต่างๆในกิจการของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในเขตภาคใต้อีกด้วย

อธิการบดีมหาวิทยาลัยคนปัจจุบันคือ รศ.ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี และมี ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

99 ม.8 ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส
จังหวัดนราธิวาส

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส
ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

วิทยาลัยการอาชีพตากใบ
ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

คณะพยาบาลศาสตร์
ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส
ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

ข้อมูลโดย วิกิพีเดีย



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : Mahasarakham University (อักษรย่อ: มมส. – MSU)

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : Mahasarakham University (อักษรย่อ: มมส. – MSU) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Mahasarakham University; อักษรย่อ: มมส. – MSU) หรือ ม.สารคาม เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 2 และมหาวิทยาลัยแห่งที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยถือกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2511 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 54ก จึงถือว่าวันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนาสถาบัน ส่วนปี 2511 เป็นปีก่อตั้งสถาบัน ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541[9] มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย (ม.ใหม่) และถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหว...

มหาวิทยาลัยรามคำแหง : Ramkhamhaeng University (ย่อ: มร.)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง : Ramkhamhaeng University (ย่อ: มร.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง : Ramkhamhaeng University (ย่อ: มร.) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ดำเนินการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา อันเป็นระบบเดียวกับ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในอดีต) ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เดิมมหาวิทยาลัยในประเทศไทยช่วงก่อน พ.ศ. 2490 เป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบปิด ต้องสอบคัดเลือก มีเพียงมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ที่เป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบตลาดวิชา ไม่มีการสอบคัดเลือกและเปิดรับทุกคนที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2490 มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" และภายหลังจึงถูกแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยปิด เมื่อ พ.ศ. 2495[6] ทำให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยทั้งหมดต้องสอบคัดเลือก และเกิดการตกค้างของผู้ที่ต้องการเรียนต่อระดับอุด...